การดุแลเครื่องมือเครื่องใช่ภายในบ้าน
ประเภทของเครื่องเรือน
เครื่องเรือนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ช่วยตกแต่งภายในบ้านให้สวยงาม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชุดรับแขก เป็นต้น ในการทำความสะอาดเครื่องเรือนระวังอย่าให้เกิดรอยขีดข่วน ดังนั้นในการปัดฝุ่นควรใช้ไม้กวาดขนไก่หรือผ้านุ่ม และถ้าจะต้องล้างหรือขัดสิ่งสกปรกไม่ควรใช้ฝอยขัด ดังนั้น เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเรือนได้ยาวนาน ควรดูแลรักษาให้ถูกวิธีตามลักษณะและชนิดของวัสดุ
เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้
1. ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้ประดู่ เป็นต้น มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ตู้
วิธีดูแลรักษา
ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุกซอกทุกมุม ทิ้งให้แห้ง หากมีรอยเปื้อนมาก ๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้ง หรือใช้น้ำยาชักเงาที่ขายสำเร็จรูปฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง ไม่ควรให้เปียกน้ำ
2. ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ไผ่ หวาย มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ชั้นวางของ
วิธีดูแลรักษา
|
ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก แล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาด
ๆ เช็ดออก ทิ้งไว้ให้แห้ง ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด แล้วนำออกตากแดด ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง ถ้ามีรอยเปื้อนมาก ๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง
การเก็บรักษา
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งให้แห้งสนิทเสียก่อน แล้วจึงนำมาเก็บหรือตั้งไว้ในที่แห้ง ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่าย
เครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง
เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี 2 แบบ คือ แบบหนังเรียบธรรมดา และแบบหนังกลับ ใช้ทำชุดรับแขก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง ดังนี้
1. เครื่องหนังธรรมดา ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน แล้วใช้เศษผ้า ฟองน้ำ หรือแปรงขัดหนัง ขัดให้ทั่ว ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่
2. หนังกลับ ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง
โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน เพราะจะทำให้เสียรูปทรง
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง ถุงผ้า หรือเก็บไว้ในตู้
เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ
|
วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง ขัดเงาขึ้นแวววาว นำความร้อนได้ดี ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา มีดังต่อไปนี้
1. เหล็ก เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เช่น มีด จอบ เสียม และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น ๆ มีวิธีดูแลรักษา ดังนี้
· ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ เช่น มีดสำหรับสับเนื้อ ไม่ควรนำไปฟันไม้ เป็นต้น
· หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
· ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
· อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน
ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม ถ้ามีสนิมขึ้น ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่
การเก็บรักษา
|
เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
2. เครื่องเงิน เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน พาน โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ การดูแลรักษาควรปฏิบัติ ดังนี้
· ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
· ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด
แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
· ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด
· ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้
การเก็บรักษา
เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง ใส่กล่อง แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ
3. อะลูมิเนียม เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้ เช่น หม้อ กระทะ ทัพพี ถาด ขันน้ำ มีวิธีดูแลรักษาดังนี้
· ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด ขัดให้สะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ
ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด
· รอยไหม้บนอะลูมิเนียม ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้ว ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
4. เครื่องแสตนเลส มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อความกัดกร่อน สามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่เป็นสนิม และดูแลรักษาง่าย นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม ภาชนะในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น อ่างล้างชาม เป็นต้น
วิธีดูแลรักษา ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาดคว่ำไว้ แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
เครื่องเรือนที่เป็นแก้วหรือกระจก
|
เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นแก้วหรือกระจก
มีมากมายหลายชนิด เช่น แก้วน้ำ
รูปทรงต่าง ๆ จาน ชาม ถ้วย ถาด กระจกเงา โต๊ะกระจก แจกัน โคมไฟแขวนประดับ เป็นต้น ซึ่งอาจทำจากแก้วเรียบ ๆ ธรรมดา หรือมีการแกะสลัก เจียระไนระบายสีให้เกิดลวดลายที่งดงามก็ได้ เครื่องแก้วเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดี คือ ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ มีความเปราะบาง แตกหักง่าย ดังนั้นจึงต้องรู้จักใช้และระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยร้าว เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน
เมื่อล้างเครื่องแก้วสะอาดดีแล้ว ควรเก็บใส่กล่อง ใช้กระดาษหรือเศษผ้าวางคั่นทีละใบกันกระแทก ถ้าเป็นแก้วไม่ควรวางซ้อนกัน จะดึงออกยาก และทำให้แตกได้
เครื่องเรือนที่ทำด้วยพลาสติก
|
พลาสติก ในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ ได้แก่ มีความเหนียว ทนทาน แข็งแรง น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถนำไปหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติก เช่น จาน ชาม เก้าอี้ และถุงชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
* สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องใช้พลาสติก *
1. ควรเลือกเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติกใสหรือขาวเพื่อความปลอดภัยจากสีที่
เจือปน
2. ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่ร้อนจัด เพราะพลาสติกไม่ทนต่อความ
ร้อน อาจเกิดการสลายตัวปะปนเข้าไปในอาหาร
3. ไม่วางเครื่องใช้พลาสติกไว้ใกล้เตาไฟ
หรือแหล่งความร้อนอื่น เพราะจะทำให้
เกิดการหลอมละลายเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น