...
วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ประวัติส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
*
ชื่อ: นาย ศิษฏ์ ประสมสุข
ชื่อเล่นชื่อ อัยย์
* เกิดเมื่อ: 15 ตุลาคม
พ.ศ.2541
*
อายุ: 16 ปี
* กำลังศึกษาที่:
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
* ชอบเล่นกีฬา:
บาสเก็ตบอล
* นักกีฬาที่ชื่นชอบ: KoBy Briyant เบอร์ 24 ทีม LOSANGFLES LAGERS
* FACEBOOK : Icesist Prasomsuk
* เบอร์โทรศัพท์: 093-7510464
* คติประจำใจ: ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
การบำรุงรักษา
การปลูก และการบำรุงรักษา
ต้นไม้ที่นำมาปลูกส่วนใหญ่มักจะบรรจุในถุงพลาสติกให้ใช้มีดกรีดถุงออก ควรระวังคือ อย่าให้รากของต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก เสร็จแล้ววางต้นไม้ลงในหลุมที่ขุดให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับขอบหลุม แล้วกลบหลุมด้วยดินผสมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกหรือใช้ดินที่ขุดขึ้นจากหลุมที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยดี อย่าใช้ดินเหนียวที่แน่นหรือดินที่มีกรวดหินมาก ๆ กลบหลุม เพราะจะเป็นปัญหาทำให้รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ไม่ดี เมื่อกลบหลุมเสร็จแล้วใช้เท้าเหยียบดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษใบไม้หญ้าหรือฟางมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการกัดเซาะของน้ำในขณะรดน้ำต้นไม้ หาไม้หลักซึ่งมีความสูงมากกว่าต้นไม้พอประมาณมาปักข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้อย่างหลวม ๆ เพื่อช่วยในการทรงตัวของต้นไม้และป้องกันลมพัดโยก เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำวันละครั้ง จนต้นไม้ตั้งตัวได้ กรณีที่ปลูกเป็นพื้นที่มากๆ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ขณะฝนตกหรือหลังฝนตกใหม่ ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำต้นไม้ ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ การรดน้ำควรรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าต้องการทราบว่าได้รดน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่ ให้ทดลองขุดดินดูว่าน้ำซึมลง
ไปถึงบริเวณรากต้นไม้หรือยัง ถ้ารดน้ำน้อยไปน้ำจะซึมลงไปไม่ถึงบริเวณรากต้นไม้ การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า ควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
หลังจากได้ปลูกต้นไม้แล้วผู้ปลูกควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดกับต้นไม้ในระยะเริ่มแรกที่มีขนาด
เล็กยังตั้งตัวไม่ได้ เช่น อันตรายจากสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะต่าง ๆ หากปลูกจำนวนน้อยอาจทำคอกป้องกัน
หรืออาจทำรั้วกั้นเป็นแนวไว้ได้ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่ต้องการความเอาใจใส่มากตั้งตัวได้ยากควรจะมีการ
บังแดดให้ในระยะที่ตั้งตัวไม่ได้ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาที่ดีจากผู้ปลูกมากพอสมควร
- ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจให้ลดลงเป็นวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ครั้งจนสังเกตเห็นต้นไม้ตั้งตัวได้
เล็กยังตั้งตัวไม่ได้ เช่น อันตรายจากสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะต่าง ๆ หากปลูกจำนวนน้อยอาจทำคอกป้องกัน
หรืออาจทำรั้วกั้นเป็นแนวไว้ได้ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่ต้องการความเอาใจใส่มากตั้งตัวได้ยากควรจะมีการ
บังแดดให้ในระยะที่ตั้งตัวไม่ได้ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาที่ดีจากผู้ปลูกมากพอสมควร
- ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจให้ลดลงเป็นวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ครั้งจนสังเกตเห็นต้นไม้ตั้งตัวได้
การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช
วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้าควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการ ถากถาง
และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง
ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ
แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
การตรวจดูแลต้นไม้และฉีดยาป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตลอดจนระวังไฟ
โดยปกติต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ย่อมถูกแมลง โรค เห็ด รา
รบกวนเป็นธรรมดา
การเจริญเติบโตของต้นไม้โดยธรรมชาติมีความแข็งแรงอยู่ในตัวพอสามารถสู้ต้านทานกับโรค
แมลงและเห็ดราต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร หากผู้ปลูกช่วยบำรุงรักษาต้นไม้ให้ถูกวิธี
ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้รวดเร็วมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะต่อต้านอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง
โดยเฉพาะการหมั่นตรวจตราดูแลโรค แมลงที่เกิดกับต้นไม้
และใช้ยาฉีดกำจัดได้ทันเหตุการณ์ในกรณีที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ จะต้องมีการระวังไฟ
ควรมีการแผ้วถางวัชพืชปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และทำแนวป้องกันไฟล้อมรอบ
ถ้าหากปลูกเป็นแนวยาว เช่น
ตามแนวถนนต้องกำจัดวัชพืชที่จะเป็นเชื้อเพลิงในช่วงปลายฤดูฝน
หรือก่อนเข้าฤดูแล้งตลอดแนวทาง การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้อย่างเอาใจใส่
และการปลูกต้นไม้จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่การป้องกันให้ต้นไม้พ้นจากอันตรายจากไฟและอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทั้งปวง
การเตรียมพื้นที่ปลูกและเลือกพันธุ์ไม้ที่จะปลูก และ จัดหาอุปกรณ์
การเตรียมพื้นที่ปลูกและเลือกพันธุ์ไม้ที่จะปลูก และ จัดหาอุปกรณ์
เมื่อผู้ปลูกได้ตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการปลูกต้นไม้ไว้เรียบร้อยแล้ว
สิ่งที่จำเป็นต้องกระทำต่อไปคือ การกำหนดพื้นที่เพื่อให้มีความเหมาะสมกับชนิดพันธุ์ไม้ที่เลือกปลูก
หากเลือกพื้นที่ปลูกไม่สอดคล้องกับชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกจะทำให้ได้ประโยชน์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประกอบการพิจารณาดังนี้
ปัจจัยแรกเกี่ยวกับลักษณะของดิน
ผู้ปลูกควรพิจารณาสภาพของดินว่ามีความอุดมสมบูรณ์หรือลักษณะดินเป็นดินประเภทใด
มีสภาพความเป็นกรดหรือเป็นด่างอย่างไร เป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
มีการระบายน้ำได้ดีหรือไม่เพียงใด พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มหรือมีความลาดเอียง
ใกล้ไกลแหล่งน้ำเหมาะสมกับพันธุ์ไม้ชนิดใด
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศประกอบอีกด้วย
ประการต่อมาต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมพื้นที่ที่จะกำหนดปลูกว่ามีสภาพเป็นอย่างไร
ต้องให้มีความปลอดภัยกับต้นไม้ และปัจจัยสุดท้ายคือ การกำหนดระยะปลูก
ผู้ปลูกจะต้องกำหนดระยะปลูกระหว่างต้นไม้ให้มีความเหมาะสมกับชนิดและขนาดของต้นไม้ที่จะปลูก
ผู้ปลูกจะต้องกำหนดระยะปลูกระหว่างต้นไม้ให้มีความเหมาะสมกับชนิดและขนาดของต้นไม้ที่จะปลูก
การเตรียมดินเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของการปลูกต้นไม้
และจะให้ได้ผลดีจะต้องมีการเตรียมการ
ล่วงหน้าพอสมควร ปรับระดับพื้นที่ให้ได้ตามต้องการเสียก่อน และเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
ผู้ปลูกควรได้กำหนดแผนผังการปลูกต้นไม้ไว้ก่อน ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องปกติไม่ว่าดินจะเป็นดินชนิดใดหรือมีทำเลเป็นอย่างไร
ล่วงหน้าพอสมควร ปรับระดับพื้นที่ให้ได้ตามต้องการเสียก่อน และเพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
ผู้ปลูกควรได้กำหนดแผนผังการปลูกต้นไม้ไว้ก่อน ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องปกติไม่ว่าดินจะเป็นดินชนิดใดหรือมีทำเลเป็นอย่างไร
1. อุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปลูกต้นไม้ ควรจัดหาและเตรียมให้พร้อมเพื่อ
ความสะดวกใน การปลูกต้นไม้ มีจอบ เสียม พลั่วตักดิน บุ้งกี๋ ตลอดจนยานพาหนะ
ลำเลียงขนส่งกล้าไม้ไปยังจุดที่เตรียมหลุมปลูก
2. หน้าดินผสมสำหรับกลบหลุมปลูก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สำหรับรองก้นหลุม ตลอดจนสาร
อุ้มน้ำ(ถ้ามี) และใช้ในกรณีปลูกก่อนหรือหลังฤดูฝน
3. หลักค้ำยัน ยึดต้นไม้ กันลมพัดโยกและช่วยในการทรงตัวของต้นไม้ให้ตั้งตรง เชือก
สำหรับผูกยึดต้นไม้กับหลัก .
ความสะดวกใน การปลูกต้นไม้ มีจอบ เสียม พลั่วตักดิน บุ้งกี๋ ตลอดจนยานพาหนะ
ลำเลียงขนส่งกล้าไม้ไปยังจุดที่เตรียมหลุมปลูก
2. หน้าดินผสมสำหรับกลบหลุมปลูก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สำหรับรองก้นหลุม ตลอดจนสาร
อุ้มน้ำ(ถ้ามี) และใช้ในกรณีปลูกก่อนหรือหลังฤดูฝน
3. หลักค้ำยัน ยึดต้นไม้ กันลมพัดโยกและช่วยในการทรงตัวของต้นไม้ให้ตั้งตรง เชือก
สำหรับผูกยึดต้นไม้กับหลัก .
กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะปลูก
การปลูกต้นไม้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะปลูก
ในกรณีที่พื้นที่เตรียมการปลูกเป็นดินเหนียวจัด
ควรเอาน้ำรดให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อให้ขุดง่ายเบาแรงขึ้นดินที่ขุดขึ้นควรใช้ปูนขาว
หรือ สารเคมีปรับปรุงดินบางชนิด เช่น โดโรไมค์
ผสมกับทรายและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับเนื้อดินตากแดดทิ้งไว้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์
รดน้ำเป็นระยะพร้อมกับพรวนดินตามสมควร จะทำให้ดินร่วนและดีขึ้น
สำหรับพื้นที่ที่ดินเป็นดินปนทรายมากการปรับปรุงดินจำเป็นต้องใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
เพื่อทำให้ดินจับเป็นก้อนแน่นอุ้มน้ำและมีอาหารพืชมากขึ้น
ประโยชน์ของต้นไม้มีดังนี้
1.ต้นไม้จะ
ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์
ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา
2. ช่วยดูดซับก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา
บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น
4. เป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ป่า
5. พืช ผล
สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้
6. เป็นแหล่งต้นน้ำ
ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกัก
เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
7.
บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกันการพัง
ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ
การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย ของหน้าดิน
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์
ประเทศของเรา
8. เป็นแนวป้องกัน
การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา
จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม
9. ลำต้น สามารถ
นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ
10. การปลูกต้นไม้
เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างนึง
11. เมื่อเจริญ
สามารถนำไปขายได้ราคา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
12 ต้นไม้
เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนนึงในระบบนิเวศวิทยา
วิธีการทำเครื่องปั่นดินเผา(เครื่องใช่ภายในบ้าน)
ขั้นตอนการทำ
1. นำดินเหนียวมากองไว้เตรียมใช้งานเรียกว่า กองดิน
2. ซอยดินเหนียว แล้วนำไปพรมน้ำหมักค้างคืน โดยใช้ใบตองแห้งคลุมให้ดินชุ่มน้ำพอเหมาะ
3. ปั้นดินที่หมักเป็นก้อนๆ ยาวประมาณ 1 ศอกนำไปวางไว้ในลานวงกลมแล้วใช้ควายย่ำให้ทั่ว เรียกว่า นวดดิน ปัจจุบันพัฒนามาเป็นการใช้เครื่องนวดแทนควาย
4. นำดินที่นวดแล้วมาตั้งเป็นกองใหญ่ แล้วเหยียบให้เป็นกองแบนลง ถ้าพบเศษวัสดุอะไรในดินก็หยิบออกมาแล้วนำผ้ามาคลุมดินไว้เพื่อรอการนำดินมาใช้ในการปั้นต่อไป
5. นำดินมาปั้นเป็นแท่งกลมยาวเพื่อขึ้นรูป โดยขึ้นรูปบนแป้นหมุน เรียกว่า ก่อพิมพ์ เป็นการปั้นครึ่งล่างของภาชนะที่ปั้น
6. นำครึ่งล่างที่ปั้นเสร็จแล้วไปผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำมาปั้นต่อให้เสร็จตามรูปแบบที่ต้องการ
7. นำมาผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำไปขัดผิวให้เรียบโดยใช้ลูกสะบ้าขัด ทำให้ผิวเรียบและมันแล้วนำไปตากให้แห้ง
8. นำภาชนะที่ปั้นเรียนร้อยแล้วและแห้งดีแล้วไปเข้าเตาเผา ซึ่งเป็นเตาก่อด้วยอิฐ
9. ในการเผาจะใช้เวลาประมาณ 2 คืน 3 วัน และต้องคอยใช้ฟืนในเตาเผาตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ได้ความร้อนสม่ำเสมอและทำให้ดินสุกได้ทั่วถึง
10. เมื่อเผาได้ตามที่กำหนดเวลาต้องงดใส่ไฟ แล้วปล่อยทิ้งไว้ในเตาเผา 2 คืน โดยค่อยๆ เปิดช่องว่างเพื่อค่อยๆระบายความร้อนเรียกว่า แย้มเตา
11. นำภาชนะที่เผาเรียนร้อยแล้วออกจากเตาคัดเลือกชิ้นที่มีสภาพดีนำไปใช้
วิธีการดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านทั่วไป
วิธีการดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านทั่วไป
วิธีดูแลรักษา
1. ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกใส่ของร้อนจัดจนเกินไป เพราะพลาสติกอาจละลาย
เสียรูปทรง
และเป็นอันตรายจากการละลายของสารเคมี
2. พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารโพลีไวนีลคลอไรด์
หรือ พีวีซี ใช้ทำขวด หรือ
ของเด็กเล่น เป็นต้น อาจเป็นอันตรายจากการละลายของสารเคมีที่ไม่ควรนำมาใช้บรรจุของเหลวร้อน
3. การล้างทำความสะอาดพลาสติกประเภทเมลามีน ใช้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำ
ผงซักฟอก เช็ดให้แห้ง
เก็บเข้าที่
4. ถ้าภาชนะเปื้อนไขมันคราบไคลต่าง
ๆ ให้ล้างด้วยน้ำอุ่น อย่าใช้ฝอยขัดหม้อที่
เป็นโลหะขัด
เพราะจะทำให้เป็นรอยขูดขีด
5. ถ้ามีกลิ่นอาหารให้ล้างด้วยน้ำส้มสายชู หรือใช้เปลือกมะนาวถู แล้วล้างออก
ด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
|
เครื่องใช้พลาสติกที่ทำความสะอาดแล้ว วางซ้อนเก็บในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้ ส่วนเครื่องเรือนวางตั้งในห้องต่าง ๆ
ใช้ผ้าคลุมป้องกันฝุ่นละอองหรือเก็บในห้องเก็บของ
เครื่องเรือนที่ทำจากดินเผา
เครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องเคลือบดินเผา เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากดิน โดยเอาดินเหนียวมาผสมกับน้ำแล้วปั้นเป็นรูปร่างนำไปเข้าเตาเผา และเคลือบน้ำยา เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ถ้วย ชาม อ่าง มีราคาถูก
สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องเคลือบ
· การเลือกใช้เครื่องปั้นดินเผาที่เผาสุกเคาะแล้วมีเสียงดังกังวาน จะใช้งานได้ ทนทาน ไม่เปราะแตกง่าย
· เลือกใช้เครื่องเคลือบดินเผาที่ไม่ตกแต่งสีและลวดลายมาก จะปลอดภัยจากสี และสารตะกั่วที่ใช้ทำลวดลาย
· การใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ควรเลือกที่เคลือบสีขาว ไม่มีจุดหรือรอยเปื้อนซึ่งเกิดจากความสกปรกขณะที่เคลือบ
หรือนำเข้าเตาเผา ควรเลือกชนิดที่ไม่มีรอยผิวราน เพราะจะทำให้เศษอาหาร น้ำ ซึ่งเข้าไปในเนื้อภาชนะเกิดรอยเปื้อนที่ล้างไม่ออก หรืออาจเกิดเชื้อราทำให้อาหารที่ใส่ในภาชนะนั้นบูดเน่าเร็ว
วิธีดูแลรักษา
เครื่องเคลือบดินเผามักนำมาใช้บรรจุอาหาร การดูแลรักษาจึงควรพิถีพิถันเป็นพิเศษ
ล้างให้สะอาด
แล้วคว่ำไว้ในที่คว่ำชาม นำออกไปผึ่งแดดให้แห้งทุกครั้ง และหมั่นตรวจดูรอยแจก
รอยร้าวที่เกิดขึ้น ถ้าพบควรรีบคัดภาชนะนั้นออก ไม่นำมาใช้ต่อไป เพราะรอยร้าวทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสมอยู่ ทำให้บูดเน่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
การเก็บรักษา
เมื่อภาชนะเครื่องใช้แห้งดีแล้ว
ควรเก็บเข้าตู้ทันที เพื่อ ป้องกันแมลง และพาหะนำโรค
ประเภทของเครื่องเรือน
การดุแลเครื่องมือเครื่องใช่ภายในบ้าน
ประเภทของเครื่องเรือน
เครื่องเรือนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ช่วยตกแต่งภายในบ้านให้สวยงาม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชุดรับแขก เป็นต้น ในการทำความสะอาดเครื่องเรือนระวังอย่าให้เกิดรอยขีดข่วน ดังนั้นในการปัดฝุ่นควรใช้ไม้กวาดขนไก่หรือผ้านุ่ม และถ้าจะต้องล้างหรือขัดสิ่งสกปรกไม่ควรใช้ฝอยขัด ดังนั้น เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเรือนได้ยาวนาน ควรดูแลรักษาให้ถูกวิธีตามลักษณะและชนิดของวัสดุ
เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้
1. ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้ประดู่ เป็นต้น มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ ตู้
วิธีดูแลรักษา
ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออกให้หมด ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าขนหนูที่สะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด เช็ดฝุ่นให้สะอาดทุกซอกทุกมุม ทิ้งให้แห้ง หากมีรอยเปื้อนมาก ๆ ขัดออกด้วยกระดาษทราย ทาขี้ผึ้งแล้วขัดด้วยผ้าแห้ง หรือใช้น้ำยาชักเงาที่ขายสำเร็จรูปฉีดแล้วทิ้งให้แห้ง ไม่ควรให้เปียกน้ำ
2. ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ไผ่ หวาย มักนำมาทำเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ชั้นวางของ
วิธีดูแลรักษา
|
ใช้แปรงหรือไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก แล้วใช้ผ้าฝ้ายสะอาดชุบน้ำบิดหมาด
ๆ เช็ดออก ทิ้งไว้ให้แห้ง ควรฉีดยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมอด แล้วนำออกตากแดด ไม่ควรใช้มือเปียกจับเครื่องเรือน เพราะจะทำให้เกิดรอยด่าง ถ้ามีรอยเปื้อนมาก ๆ ให้เช็ดด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำอุ่นให้ทั่ว แล้วขัดด้วยขี้ผึ้ง
การเก็บรักษา
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งให้แห้งสนิทเสียก่อน แล้วจึงนำมาเก็บหรือตั้งไว้ในที่แห้ง ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่าย
เครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง
เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี 2 แบบ คือ แบบหนังเรียบธรรมดา และแบบหนังกลับ ใช้ทำชุดรับแขก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง ดังนี้
1. เครื่องหนังธรรมดา ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน แล้วใช้เศษผ้า ฟองน้ำ หรือแปรงขัดหนัง ขัดให้ทั่ว ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่
2. หนังกลับ ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง
โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน เพราะจะทำให้เสียรูปทรง
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง ถุงผ้า หรือเก็บไว้ในตู้
เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ
|
วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง ขัดเงาขึ้นแวววาว นำความร้อนได้ดี ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์ เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา มีดังต่อไปนี้
1. เหล็ก เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เช่น มีด จอบ เสียม และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น ๆ มีวิธีดูแลรักษา ดังนี้
· ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ เช่น มีดสำหรับสับเนื้อ ไม่ควรนำไปฟันไม้ เป็นต้น
· หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง
· ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
· อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน
ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม ถ้ามีสนิมขึ้น ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด เช็ดให้แห้ง ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่
การเก็บรักษา
|
เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง ปลอก หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม
2. เครื่องเงิน เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน เช่น ชุดน้ำชา ขันเงิน พาน โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ การดูแลรักษาควรปฏิบัติ ดังนี้
· ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
· ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ หรือน้ำมะนาวผสมสบู่ ขัดให้สะอาด
แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
· ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง แล้วขัดให้สะอาด
· ห้ามใช้ใยขัดโลหะ หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน และสึกหรอได้
การเก็บรักษา
เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง ใส่กล่อง แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ
3. อะลูมิเนียม เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้ เช่น หม้อ กระทะ ทัพพี ถาด ขันน้ำ มีวิธีดูแลรักษาดังนี้
· ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด ขัดให้สะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ
ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด
· รอยไหม้บนอะลูมิเนียม ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้ว ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
4. เครื่องแสตนเลส มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อความกัดกร่อน สามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่เป็นสนิม และดูแลรักษาง่าย นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม ภาชนะในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น อ่างล้างชาม เป็นต้น
วิธีดูแลรักษา ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือ น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาดคว่ำไว้ แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
การเก็บรักษา
เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้
เครื่องเรือนที่เป็นแก้วหรือกระจก
|
เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นแก้วหรือกระจก
มีมากมายหลายชนิด เช่น แก้วน้ำ
รูปทรงต่าง ๆ จาน ชาม ถ้วย ถาด กระจกเงา โต๊ะกระจก แจกัน โคมไฟแขวนประดับ เป็นต้น ซึ่งอาจทำจากแก้วเรียบ ๆ ธรรมดา หรือมีการแกะสลัก เจียระไนระบายสีให้เกิดลวดลายที่งดงามก็ได้ เครื่องแก้วเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดี คือ ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ มีความเปราะบาง แตกหักง่าย ดังนั้นจึงต้องรู้จักใช้และระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยร้าว เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน
เมื่อล้างเครื่องแก้วสะอาดดีแล้ว ควรเก็บใส่กล่อง ใช้กระดาษหรือเศษผ้าวางคั่นทีละใบกันกระแทก ถ้าเป็นแก้วไม่ควรวางซ้อนกัน จะดึงออกยาก และทำให้แตกได้
เครื่องเรือนที่ทำด้วยพลาสติก
|
พลาสติก ในปัจจุบันได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ ได้แก่ มีความเหนียว ทนทาน แข็งแรง น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถนำไปหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติก เช่น จาน ชาม เก้าอี้ และถุงชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
* สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องใช้พลาสติก *
1. ควรเลือกเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติกใสหรือขาวเพื่อความปลอดภัยจากสีที่
เจือปน
2. ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่ร้อนจัด เพราะพลาสติกไม่ทนต่อความ
ร้อน อาจเกิดการสลายตัวปะปนเข้าไปในอาหาร
3. ไม่วางเครื่องใช้พลาสติกไว้ใกล้เตาไฟ
หรือแหล่งความร้อนอื่น เพราะจะทำให้
เกิดการหลอมละลายเสียหาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)